วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
จาก ( nypa palm )
จาก ( nypa palm )
ชื่อภาษาอังกฤษ : Nypa, Atap palm, Nipa palm, Mangrove palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nypa fruticans Wurmb.
ชื่อวงศ์ : ปาล์ม (Arecaceae หรือในชื่อเดิมคือ Palmae) เช่นเดียวกับตาล ตาว ลาน หวาย และ มะพร้าว และต้นจากมีชื่ออื่นอีก คือ อัตต๊ะ โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลของ ประเทศไทย
ชื่อสามัญว่า : Nipa Palm
วงศ์ย่อย : Nypoideae
ต้นจากซึ่งมีสกุลเดียว (Nypa) และเป็นปาล์มเพียงชนิดเดียวที่เป็นพืชในป่าชายเลน และมีลำต้นอยู่ใต้ดิน นับเป็นพืชเก่าแก่มากชนิดหนึ่ง ที่มีซากดึกดำบรรพ์อายุถึง 70 ล้านปี จากพบได้ทั่วไปในเอเชียใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในบริเวณน้ำจืด และน้ำกร่อย ที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง มักจะขึ้นเป็นดงขนาดใหญ่ เรียกว่า ป่าจาก หรือดงจาก จากสามารถเติบโตได้ดีในดินโคลน ตามป่าชายเลน หรือบริเวณริมคลองที่มีไม้ให้ร่มเงาปะปนอยู่ด้วย มักอยู่ในช่วงที่มีน้ำจืดและน้ำกร่อยปนกัน แต่บนบกที่น้ำท่วมถึงและพบจากได้บ้างเช่นกัน หากดินไม่แห้งแล้งนานจนเกินไป
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของต้นจาก
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของต้นจาก
- ต้นจาก เป็นปาล์มแตกกอจากลำต้นใต้ดินหรือลำต้นที่เลื้อยไปบนดิน โดยโผล่ก้านใบและตัวใบขึ้นมาอยู่เหนือดิน ลำต้นจะแตกแขนงอยู่ใต้ดินทำให้ขึ้นเป็นก่อๆ และหลายทอด ต้นจากมีความสูงประมาณ 3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว มีอินทรียวัตถุสูง และมีน้ำท่วมขัง ชอบแสงแดดจัด
- ใบจาก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร แผ่นใบหนา ปลายใบลักษณะเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม (ลักษณะคล้ายใบมะพร้าว) และเป็นรูปรางน้ำคว่ำ ที่ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างมีสีนวล ส่วนกาบใบใหญ่ห่อโคนต้น ก้านใบที่แตกใหม่จะเป็นสีม่วงแดง[1],[2] ส่วนโคนใบจะมีกะเปาะอากาศ เป็นตัวช่วยพยุงให้ใบชูขึ้นเหมือนชูชีพ ส่วนกาบใบนี้บางครั้งจะเรียกว่า “พอนใบ” ส่วนช่อดอกที่แทงออกมาเรียกว่า “นกจาก
- ดอกจาก ดอกมีสีเหลือง ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกแน่นระหว่างกาบใบ ดอกเป็นรูปกลม ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกจะชูตั้งขึ้นและโค้งลง มีความยาวประมาณ 25-65 เซนติเมตร ออกดอกได้ตลอดทั้งปี
*** ลูกจาก กับ ลูกชิด จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยลูกจากจะมาจากต้นจาก ส่วนลูกชิดจะมาจากต้นตาว ซึ่งทั้งต้นจากและต้นตาวนั้นจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน เลยทำให้คิดไปว่าจากกับชิดคือพืชชนิดเดียวกัน หรือมักจะสับสนแล้วเรียกชื่อสลับกัน (กาพย์เห่เรือ ในรัชกาลที่ 2)
ลูกจาก
ลูกจาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
โหม่งจากหรือทลายของผลจาก จากเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ต้นตั้งตรง ใบแทงขึ้นจากกอ ช่อดอกแทงเป็นงวงออกมาจากกาบใย ส่วนที่เราเห็นของจาก คือส่วนใบและช่อดอกเท่านั้น ที่โคนใบมีกะเปาะอากาศ ช่วยพยุงให้ใบชูขึ้นเหมือนชูชีพ ส่วนกาบใบนี้บางครั้งเรียก "พอนใบ" ส่วนช่อดอกที่แทงออกมาเรียก "นกจาก" ใบที่โผล่ขึ้นมานั้น อาจชูขึ้นไปสูงได้ถึง 9 เมตร โดยไม่มีส่วนของลำต้นให้เห็นเลย ดอกของปาล์มเป็นลักษณะช่อ สีเหลืองแสด กลม ดอกตัวเมียที่ปลาย ดอกตัวผู้อยู่ตรงโคนช่อดอก ส่วนผลนั้นมีเปลือกแข็ง กระจุกเป็นทะลายหลายผล เปลือกสีน้ำตาล เรียกว่า "โหม่งจาก" ข้างในมีเนื้อเมล็ดสีขาว มีปริมาณเนื้อไม่มากนัก รับประทานได้ รสชาติคล้ายลูกตาลสด เมื่อสุกเต็มที่ผลจะแยกจากกลุ่ม ลอยน้ำ สามารถแพร่พันธุ์ไปได้ไกลๆ บางครั้งก็แตกหน่อขณะยังลอยน้ำ
ลูกจากลอยแก้ว
ส่วนผสม
๑.ลูกจาก
๒.น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายไม่ขัดขาวก็ได้ตามชอบ
๓.น้ำสะอาด
๑.ลูกจาก
๒.น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายไม่ขัดขาวก็ได้ตามชอบ
๓.น้ำสะอาด
วิธีทำ
๑. เทน้ำสะอาดใส่หมอตั้งไฟ รอให้เดือด
๒.ใส่น้ำตาล เคี่ยวจนน้ำตาลละลายและเหนียวได้ที่เป็นน้ำเชื่อม
๓. ใส่ลูกจากขณะที่น้ำเชื่อมกำลังเดือดจัดและรีบปิดไฟทันที
๔. เมื่อลูกจากในน้ำเชื่อมเย็นให้ตักใส่ตู้เย็น
๕.เวลารับประทานควรเติมน้ำแข็งเล็กน้อย
๑. เทน้ำสะอาดใส่หมอตั้งไฟ รอให้เดือด
๒.ใส่น้ำตาล เคี่ยวจนน้ำตาลละลายและเหนียวได้ที่เป็นน้ำเชื่อม
๓. ใส่ลูกจากขณะที่น้ำเชื่อมกำลังเดือดจัดและรีบปิดไฟทันที
๔. เมื่อลูกจากในน้ำเชื่อมเย็นให้ตักใส่ตู้เย็น
๕.เวลารับประทานควรเติมน้ำแข็งเล็กน้อย
น้ำส้มจาก
1. เริ่มจากการน้าวหรือตีงวงตาล (ลูกตาลจาก) เพื่อกระตุ้นให้ต้นตาลผลิตน้ำหวานมาเก็บไว้ที่งวงตาล
2.แล้วต่อมาตัดลูกตาลออกเหลือแต่งวง
3.นำกระบอกไม้ไผ่เกล็ดไม้เคี่ยม 2-3 เกล็ด เป็นสารกันบูด
4. นำไปแขวนรับน้ำตาลที่งวงตาลในเวลากลางคืน( เริ่มปาดตาลราว 4 -5 โมงเย็น พอค่ำก็เสร็จ) น้ำหวานที่รับได้งวงละ 1 กระบอกในตอนเช้า
5.เก็บกระบอกไม้ไผ่ที่รับน้ำตาลไว้เอามาเก็บรวมกัน
6..นำกระบอกไม้ไผ่ที่รับน้ำหวานจากงวงตาลมารวมกันเพื่อล้างกระบอก
7.เทลงในกระทะเดิมโดยมีกระชอนมารองรับเพื่อกรองไม้ที่ใส่ไว้กันบูด
8.ตักฟองของน้ำตาลในกระทะออก
9.ใส่ไม้ฟืนเพิ่มเพื่อเพิ่มความร้อน
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/print.php?id=326193
ขนมจาก
ขนมจาก
ขนมจากย่าง ภาษาถิ่นเรียกว่า “กวานอะบองฮะเตอ” เป็นอาหารพื้นบ้านที่มีการถ่ายทอดวิธีการทำสืบต่อกันมาและเป็นอาหารอีกชนิด หนึ่งที่ชุมชนสามารถหาวัตถุดิบในการทำอาหารได้จากแหล่งธรรมชาติในชุมชน เพราะชุมชนจะอยู่ใกล้กับป่าจากจึงมีต้นจากเป็นจำนวนมาก คนในชุมชนจะนำลูกจากมารับประทานสดและนำมาทำขนมจากย่างโดยใช้ใบจากมาห่อขนม ได้ด้วย และเมื่อเวลานำมาย่างใบจากจะมีความหอมเป็นเอกลักษณ์ คนในชุมชนจึงนิยมนำลูกจากมาทำขนมและใช้ใบจากห่อแล้วนำมาย่าง ซึ่งสามารถทำรับประทานได้เป็นประจำ
- โอกาสในการบริโภค
รับประทานประจำและเทศกาลงานบุญต่าง ๆ
- ลักษณะอาหาร
เป็นชิ้นยาว ออกสีเหลือง
- รสชาติ
หวาน มัน หอมใบจาก
ส่วนผสมการทำขนมจาก
- แป้งข้าวเหนียวดำ 1 กิโล
- แป้งข้าวเจ้า 1/2 กิโล
- กะทิ 1 กิโล
- น้ำตาลปี๊บ 1/2 กิโล
- น้ำตาลทราย 1/2 กิโล
- มะพร้าวทึนทึกขูด 1 ถ้วย
- มะพร้าวอ่อนขูด 1 ถ้วย
- เกลือ 1 ช้อนชา
- ใบจาก
- ไม้กลัด
- ขั้นแรกเราจะเอาแป้งข้าวเหนียวดำกับแป้งข้าวเจ้าผสมกัน แล้วนำแป้งมาร่อน
- ตั้งกะทะให้ร้อนใส่น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย ลงไปคนให้ละลายใส่มะพร้าวที่เราผสมกันแล้วลงไป พอน้ำตาลเหนียวได้ที่ก็ยกลง
- แล้วเราก็มาเตรียมใบจาก เช็ดให้สะอาดและตัดให้มีความยาวประมาณ 10-12 นิ้ว แล้วเราก็ตักขนมจากใส่ลงบนใบจากที่เตรียมไว้ (ใส่อันละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) แล้วกลัดหัว ท้าย นำขนมจากไปปิ้งไฟให้สุกก็เป็นอันเสร็จ
ต่อไปเราก็เอามะพร้าวทึนทึกขูด และมะพร้าวอ่อนขูด มาผสมกัน
เอากะทิใส่หม้อ นำส่วนผสมน้ำตาลที่เราเตรียมใส่ลงไปคนให้เข้ากัน และเอาแป้งที่เราร่อนไว้ลงไปผสมใส่เกลือลงไปและคนให้เข้ากันอีกครั้ง
ที่มา:http://www.dumenu.com/recipe/1284/
น้ำตาลจาก
น้ำตาลจาก
วิธีทำน้ำตาลจาก
น้ำตาลจากคือผลผลิตที่ได้จากต้นจากโดยต้องผ่านกรรมวิธีตามขั้นตอนที่มาจากภูมิปัญญาชาว
บ้านที่ได้สืบสานกันมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันน้ำตาลจากมีลักษณะคล้ายน้ำตาลปี๊ป มีความหวานมากนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของการทำเหล้าและนำมาประกอบการทำอาหารได้อีกด้วย
กระบวนการผลิต
1. เริ่มจากการน้าวหรือตีงวงตาล(ลูกตาลจาก) เพื่อกระตุ้นให้ต้นตาลผลิตน้ำหวานมาเก็บไว้ที่งวงตาล
2.แล้วต่อมาตัดลูกตาลออกเหลือแต่งวง
3.นำกระบอกไม้ไผ่เกล็ดไม้เคี่ยม 2-3 เกล็ด เป็นสารกันบูด
4. นำไปแขวนรับน้ำตาลที่งวงตาลในเวลากลางคืน( เริ่มปาดตาลราว 4-5โมงเย็น พอค่ำก็เสร็จ) น้ำหวานที่รับได้งวงละ1 กระบอกในตอนเช้า
5. เก็บกระบอกไม้ไผ่ที่รับน้ำตาลไว้เอามาเก็บรวมกัน
6. นำกระบอกไม้ไผ่ที่รับน้ำหวานจากงวงตาลมารวมกันเพื่อล้างกระบอก
8.ตักฟองของน้ำตาลในกระทะออก
9.ใส่ไม้ฟืนเพิ่มเพื่อเพิ่มความร้อน
10.เคี่ยวน้ำผึ้งต่อไปอีกจนเหลือน้ำผึ้ง 1 ใน 3 ของน้ำหวานสด (ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง) น้ำผึ้งจะมีลักษณะข้นคล้ายยางมะตูม
11. จึงยกลงจากเตา นำมาโซมด้วยไม้โซมจนข้นเหนียวคล้ายขนมกวน
12.บรรจุใส่ปี๊ป พร้อมจำหน่ายในราคาปี๊ปละ 1000 บาท
ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
เป็นส่วนประกอบของการทำอาหาร ล่วนผสมหลักของการทำขนมหวาน การทำเหล้าที่ชาวบ้านในแต่ละละแวกนิยมทานกัน สามารถนำมาจำหน่ายเป็นสินค้า OTOP ของหมู่บ้านนั้นๆได้เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่อาศัยอยู่อีกด้วย
ตลาดของการขายน้ำตาลจาก
ตลาดของการขายน้ำตาลจากจะจำหน่ายโดยพ่้อค้าคนกลางเพื่อที่จะนำไปส่งต่อหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิเช่น การทำเหล้า การทำขนมหรืออาหารโดยคิดเป็นราคา1000 ต่อปี๊ป
ที่มา:http://www.bloggang.com/viewdiary.
ตับจาก
ตับจาก
การเย็บจาก
เป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ ในสมัยก่อน
ผู้คนจะใช้ใบไม้มุงหลังคาเพื่อทำเป็นที่
อยู่อาศัย แต่ในภายหลังผู้คนได้ดัดแปลง
และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาจึงได้มาเป็นการ
มุงหลังคาด้วยจากแทนการมุงหลังคาด้วย
ใบไม้
คำว่า “ จาก ” มีหลายชื่อ ดังต่อไปนี้
1. จาก เย็บกับทางมะพร้าว
2. จาก เย็บกับทางสาคู
3. จาก เย็บกับใบหญ้าคา
4. จาก เย็บกับใบจากโดยตรง
ลักษณะการตัดใบจาก
ควรเลือกใบที่แก่ และใบใหญ่เพื่อตัดออกจากทางของมันแล้วเก็บมัดรวมกันเพื่อจะนำไปแช่น้ำ ซึ่งเป็นการรักษาอายุการใช้งานของมันให้นานยิ่งขึ้น
ลักษณะของหวายเย็บจาก
ตัดหวายให้เป็นเส้นยาวเอามาเหลาให้เป็นซี่เล็ก ๆ ที่ด้านโคนของหวายทำให้แหลมแล้วนำมาม้วนให้เป็นวงกลม หลังจากนั้นจึงเอาไปแช่น้ำเพื่อไม่ให้หวายผุหรือเกิดการหักได้ แต่ในปัจจุบันหวายไม่มีการ ใช้แล้วเพราะว่ามันหายาก คนปัจจุบันเลยหันมาใช้เชือกฟากแทนการใช้หวายใน การเย็บจากแต่จะต้อง ใช้เข็มหรือของแหลมเป็นตัวนำในการเย็บจาก
ควรเลือกใบที่แก่ และใบใหญ่เพื่อตัดออกจากทางของมันแล้วเก็บมัดรวมกันเพื่อจะนำไปแช่น้ำ ซึ่งเป็นการรักษาอายุการใช้งานของมันให้นานยิ่งขึ้น
ลักษณะของหวายเย็บจาก
ตัดหวายให้เป็นเส้นยาวเอามาเหลาให้เป็นซี่เล็ก ๆ ที่ด้านโคนของหวายทำให้แหลมแล้วนำมาม้วนให้เป็นวงกลม หลังจากนั้นจึงเอาไปแช่น้ำเพื่อไม่ให้หวายผุหรือเกิดการหักได้ แต่ในปัจจุบันหวายไม่มีการ ใช้แล้วเพราะว่ามันหายาก คนปัจจุบันเลยหันมาใช้เชือกฟากแทนการใช้หวายใน การเย็บจากแต่จะต้อง ใช้เข็มหรือของแหลมเป็นตัวนำในการเย็บจาก
อุปกรณ์ในการเย็บจาก
1. ใบจาก
2. ไม้ไผ่เอามาทำตับจาก
3. หวายลิงหรือเชือกฟาง
ขั้นตอนการทำจาก
1. เอาไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 1.30 เมตร หรือ 1.50 เมตร
2. นำไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน ๆ แล้วมาผ่าเป็นซี่ ๆ กว้างประมาณ 1 นิ้วครึ่งเหลาให้เรียบร้อย
3. หลังจากนั้นนำมามัดรวมกันเพื่อนำไปแช่ในน้ำเค็ม เป็นการป้องกันการไชของมอด
วิธีการเย็บจาก
1. นำจากมาวางไว้แล้วเอาใบจากสองใบมาวางเรียงกัน
2. เย็บจากข้างบนลงข้างล่างแล้วเอาใบจากคู่ต่อไปมาวางเรียงต่อกันอีก ทำไปจนหมดตับ
3. เมื่อเย็บเสร็จแล้วจึงนำไปตากให้แห้งเพื่อเตรียมมุงหลังคาต่อไป
1. ใบจาก
2. ไม้ไผ่เอามาทำตับจาก
3. หวายลิงหรือเชือกฟาง
ขั้นตอนการทำจาก
1. เอาไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 1.30 เมตร หรือ 1.50 เมตร
2. นำไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน ๆ แล้วมาผ่าเป็นซี่ ๆ กว้างประมาณ 1 นิ้วครึ่งเหลาให้เรียบร้อย
3. หลังจากนั้นนำมามัดรวมกันเพื่อนำไปแช่ในน้ำเค็ม เป็นการป้องกันการไชของมอด
วิธีการเย็บจาก
1. นำจากมาวางไว้แล้วเอาใบจากสองใบมาวางเรียงกัน
2. เย็บจากข้างบนลงข้างล่างแล้วเอาใบจากคู่ต่อไปมาวางเรียงต่อกันอีก ทำไปจนหมดตับ
3. เมื่อเย็บเสร็จแล้วจึงนำไปตากให้แห้งเพื่อเตรียมมุงหลังคาต่อไป
ประโยชน์ของตับจาก
ตับจากมีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งสำหรับทำเป็นหลังคามุงที่พักอาศัย ที่พักผ่อนหย่อนใจ โรงเลี้ยงไก่ โรงเพาะเห็ด ฟาร์มเลี้ยงหมู โรงเหล้า ร้านอาหาร รีสอร์ท และใช้ประโยขน์ อื่น ๆ
ประโยชน์ของจาก
ประโยชน์ของจาก
1. ต้นจาก นิยมใช้ปลูกเพื่อประดับริมน้ำกร่อย หรือริมทะเล หรือในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง หรือใช้ปลูกเพื่อเป็นแนวกับลม เพื่อช่วยลดเสียงรบกวน ส่วนผลมีลักษณะที่สวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้กระถางประดับได้เช่นกัน
2. หากย้อนไปเมื่อสมัยก่อนนั้นการปลูกจากนั้นยังถือเป็นการจับจองที่ดิน หากใครปลูกในบริเวณไหนก็จะถือว่าเป็นที่ดินของคนนั้น ซึ่งปลูกโดยวิธีการลงแขก ผู้ที่ไปช่วยปลูกจะเป็นพยานในการจับจองที่ดินด้วย
3. ต้นจากที่เหลือใช้ สามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้
4. ลูกจากอ่อน หรือ ผลอ่อน สามารถนำมาไปแกงทำเป็นอาหาร ต้มกินกับน้ำพริก ใช้เป็นผักเหนาะน้ำพริก กินร่วมกับแกงไตปลา ทำเป็นแกงกะทิ ฯลฯ หรือหากปล่อยให้อ่อนพอเหมาะ หรือลูกจากหนุ่มก็ผ่าเอาเมล็ดมารับประทานสดเป็นผลไม้ได้ หรือจะนำมาลอยแก้ว หรือใช้เชื่อมรับประทานเป็นขนมหวานหรือทานร่วมกับไอศกรีมก็อร่อยไม่ใช่น้อย
5. ผลจากที่สุกแล้วจะมีเนื้อเยื่อสีขาวและใส นุ่มมีรสหวาน ใช้รับประทานเป็นของหวาน หรือที่เรียกว่า “ลูกจากเชื่อม”
6. ผลอ่อนที่แตกหน่อ จะมีจาวจากอยู่ข้างใน สามารถนำมารับประทานได้เช่นเดียวเหมือนจาวมะพร้าวและจาวตาล
7. น้ำหวานของต้นจาก (ปลายช่อดอก) หรือที่เรียกว่า “น้ำตาลจาก” มีรสชาติเหมือนกับน้ำตาลโตนด และยังสามารถนำไปเคี่ยวเพื่อทำเป็น “น้ำผึ้งจาก” ได้ด้วยและจะได้ “น้ำตาลปึก” เมื่อเคี่ยวต่อไปก็จะได้เป็น “ตังเม”ซึ่งเป็นขนมที่เด็กจะชอบกันมากหรือจะนำไปหมักเพื่อเป็น “น้ำส้มจาก” ก็ได้เช่นกัน โดยน้ำส้มจากเมื่อนำไปหมักผสมกับอาหารกุ้งก็จะช่วยทำให้น้ำในบ่อกุ้งไม่เน่าเสียอีกด้วย และยังใช้น้ำส้มจากเพื่อนำไปทำเป็น ”น้ำตาลเมา” ก็ได้
8. งวงจากหนุ่ม สามารถนำมาใช้ทำเป็นไม้กวาด หรือทำเป็นแส้สำหรับปัดแมลงได้ หรือทำชดหรือแปรงล้างกระบอกตาลตอนทำน้ำตาลจาก
9. ใบจากสามารถนำมาใช้ห่อขนมจาก ใช้ทำแมงดากันฝน ทำเป็นของเล่นหรือลูกโตน ส่วนใบแก่จะเย็บเป็นตับจากแล้วนำมาใช้มุงหลังคาหรือใช้กั้นฝาบ้านได้ หรือทำกระแชงที่มีลักษณะคล้ายกับเต็นท์ แถมยังกันความร้อนได้ดีกว่าเต็นท์อีกด้วย หรือนำมาทำเป็นเพิงสำหรับอาศัยพักผ่อนของชาวไร่ชาวสวน ใช้ทำเป็นหมวกที่เรียกว่า “เปี้ยว” หรือจะใช้กันแดดกันฝนบนเรือแจวก็ได้ นอกจากนี้ยังนำมาใช้ทำฝาชีสำหรับครอบกับข้าว หรือทำเป็นฝาซึงสำหรับนึ่งอาหาร เพราะใบจากจะทนทานต่อความร้อนได้ดี เปรียบเสมือนกันความร้อน ส่วนก้านใบที่ลิดใบแล้วใช้ทำไม้กวาดและทำเสวียนหม้อได้
10. ใบอ่อนที่เพิ่งแตกยอดใช้ทำมวนบุหรี่สูบ ทำเสวียนหม้อ ตอกบิด ห่อขนมจาก นอกจากนี้ยังใช้ทำที่ตักน้ำที่เรียกว่า “หมาจาก” สำหรับใช้วิดน้ำในเรือได้ แถมยังดีกว่าหมาวิดน้ำแบบอื่นๆ เพราะหมาจากนั้นไม่กินเนื้อไม้ ทำให้เนื้อไม่มีเสีย เรือไม่ทะลุ
11. พอนจาก หรือ ปงจาก ใช้ทำเป็นทุ่นสำหรับเกาะตอนว่ายน้ำเพื่อไม่ให้จม หรือนำไปทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เช่น ทำเป็นดาบ ปืน เรือ ฯลฯ นอกจากนี้ส่วนที่เหนือขึ้นไปเล็กน้อยของพอนจากก็สามารถนำมาตัดทำเป็นไม้ดอกตีเงี่ยงปลาสำหรับชาวประมงได้ด้วย (โดยเลือกตัดเอาเฉพาะพอนจากที่มีขนาดพอดีมือ)[3] หรือนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงก็ได้
12. ทางจาก สามารถนำมาทำปลอกสำหรับแจวเรือได้ โดยมีข้อดีกว่าปลอกแจวแบบเป็นเชือกไนลอนคือจะมีความเหนียวกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือไม่ทนทานเท่าไหร่นัก นอกจากนี้ยังใช้ทำตับจากได้อีก แต่นำมาใช้ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะไม่แข็งแรง และชาวประมงก็ยังส่วนของทางจากแก่นำมาทำเป็นตะแกรงสำหรับย่างปลาอีกด้วย
ที่มา : http://www.greenerald.com/
ที่มา : http://www.greenerald.com/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)